โปรแกรมไฟกระพริบเป็นโปรแกรมที่เป็นสากลที่เราต้องทำความรู้จัก เหมือนกับ "Hello world" ที่เห็นโดยทั่วไป แต่แต่ด้วย mcu นั้นจะไม่มีจอภาพให้เราเห็น แต่เราสามารถสร้างภาคแสดงผลขึ้นมาได้เอง การแสดงผลด้วย LED นั้นเป็นสิ่งที่นิยมมากตั้งแต่งานที่มีขนาดเล็กจนถึงานที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนสูง มีความเที่ยงตรงค่อนข้างสูงเพราะว่าการควบคุมให้ทำงานนั้นไม่มีความซับซ้อน มาเริ่มก้าวแรกไปด้วยกันเลยครับ
อุปกรณ์การทดลอง
ลำดับที่ | รายการ | ภาพประกอบ | จำนวน |
1 | rduino/freeduino/clone ต่างๆ สำหรับในภาพเป็น iduino | 1 บอร์ด | |
2 | Breadboard | 1 บอร์ด | |
3 | สาย USB | 1 เส้น | |
4 | LED | 1 ตัว | |
5 | ตัวต้านทาน 330 Ohm | 1 ตัว | |
6 | สายไฟ | 5 เส้น |
วิธีการทดลอง
- ต่อ Arduino หรือ clone (ตัวอย่างที่ใช้เป็น iduino)เข้ากับคอมพิวเตอร์ ดังรูป ให้สังเหตุว่าไฟ LED (สีเหลือง) ที่ PWD ติด ดังรูป
หากว่า LED (สีเหลือง) ที่ PWD ไม่ติดให้ตรวจสอบดังต่อไปนี้
-
ดูว่า สาย USB แน่นหรือไม่ หรือลองเปลี่ยนสาย USB ใหม่
- เลือกแหล่งจ่ายไฟถูกต้องไหม
- เปลี่ยนบอร์ดใหม่ - ต่อวงจรดังรูปลงใน Breadboard
- นำสายไฟต่อ GND จาก iduino พร้อมทั้งต่อ LED ด้าน N-Type (ขาที่สั้นกว่า) ลง GND
- ต่อตัวต้านทาน 330 Ohm
- ต่อสายไฟจากขาตัวต้านทาน 330 Ohm เข้าที่ขา 13 ของ iduino - เขียนโปรแกรมควบคุม
int ledPin = 13; // 1
void setup() // 2
{ // 3
pinMode(ledPin, OUTPUT); // 4
} // 5
void loop() // 6
{ // 7
digitalWrite(ledPin, HIGH); // 8
delay(1000); // 9
digitalWrite(ledPin, LOW); // 10
delay(1000); // 11
} // 12
อธิบายการทำงานของโปรแกรม
- บรรทัดที่ 1 กำหนดตัวแปร ledPin แทนขา 13
- บรรทัดที่ 4 กำหนด Mode ของ ledPin เป็น OUTPUT
- บรรทัดที่ 8 ให้ขา ledPin เป็น HIGH (ขา 13 มีศักย์ไฟฟ้าเป็น 5 Volt จะทำให้ LED สว่าง)
- บรรทัดที่ 9 หยุดรอ 1 วินาที
-
บรรทัดที่ 10 ให้ขา ledPin เป็น LOW (ขา 13 มีศักย์ไฟฟ้าเป็น 0 Volt จะทำให้ LED ดับ)
- บรรทัดที่ 11 หยุดรอ 1 วินาที - ผลการทดลอง
- LED จะติด-ดับ เป็นจังหวะห่างกัน 1 วินาที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น